เที่ยววัดไทย-ไหว้พระ

สถานที่ท่องเที่ยว วัดสวยจังหวัดน่าน

สถานที่ท่องเที่ยว วัดสวยจังหวัดน่าน

วัดภูมินทร์

ถนนผากอง ตำบลในเวียง เป็นวัดหลวง ในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตร พรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ ๖ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๙ มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” พระอุโบสถเป็นอาคารทรงจตุรมุข มีนาคสะดุ้งตัวใหญ่ ๒ ตัวเป็นพระอุโบสถไว้ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ๔ องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง ๔ ทิศ วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้าม สำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. ๑๙๔๙ เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้า ผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธ ศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลัก ที่ ๗๔ ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพ ฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑

วัดพระธาตุเขาน้อย

ตำบลไชยสถาน องค์พระธาตุ ตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของ ตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒ สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๐ องค์พระ ธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสม ล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้ง ใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๕๔ โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างใน สมัยนี้เช่นกัน

วัดสวนตาล

ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุม วดี เมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๐ เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่าง มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธ รูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลก ราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๙๒ เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ใน ช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลาง วันและกลางคืน

วัดพระธาตุแช่แห้ง

ตำบลม่วงตึ๊ด เป็นปูชนียสถาน ศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ น่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจาก ที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระธาตุแช่แห้งสร้างในสมัย เจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ. ๑๘๖๙-๑๙๐๒) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหา ชินธาตุเจ้า ๗ พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้าง วัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๗

วัดหนองบัว

หมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา เป็นวัด เก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้าง ราว พ.ศ. ๒๕๐๕ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ ภาพ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องในปัญญาชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่า เขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของ ครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๓๔)

วัดหนองแดง

ตำบลเปือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้าง โดยครูบาสิทธิการ พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ และบูรณะต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๘ แล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ภายในวัดมีลานกว้างร่มรื่น ช่อฟ้า พระอุโบสถสลักรูปนกหัสดีลิงค์ (เป็นนกในวรรณคดีมี จะงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง) ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็น สัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุ ซึ่งเป็น ลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อ องค์พระประดิษฐาน บนฐานชุกชี เรียกว่า นาคบัลลังก์ จากความเชื่อที่ว่า นาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และ เป็นอารักษ์แห่งพระพุทธศาสนา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back To Top