สะพานไม้ขึ้นภูทอกไหว้พระ
เที่ยววัดไทย-ไหว้พระ

หนาวนี้-ส่งท้ายปี 2567 ขึ้นเขาไหว้พระ

ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมชมธรรมชาติ กับสุดยอดวัดบนเขาในเมืองไทยที่คุณไม่ควรพลาด

วัดถ้ำเสือ จังหวัดกาญจนบุรี

วัดถ้ำเสือ ตั้งอยู่บนเนินเขา ในตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงไม่น้อย รวมถึงยังถือว่าเป็นวัดที่มีพระที่มีองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี พระเจดีย์ที่มีความสวยงามโดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากในระยะไกล เพราะตั้งอยู่บนเนินเขา ใครที่มาเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี สามารถแวะเยี่ยมชมวัด สักการะพระบรมสารีริกธาตุภายในพระเจดีย์เกศแก้วปราสาท และนมัสการหลวงพ่อชินประทานพร

วัดถ้ำเสือ-จังหวัดกาญจนบุรี
ภาพจาก http://www.kanchanaburi.co/th

การขึ้นไปบนเขาที่ประดิษฐานหลวงพ่อชินประทานพร และพระเจดีย์ ทำได้ทั้งเดินขึ้นบันไดนาคด้านหน้า ที่มีจำนวน 157 ขั้น ชันประมาณ 60 องศา หรือสามารถซื้อตั๋วรถรางไฟฟ้านั่งไปกลับ เมื่อขึ้นไปถึงบนเขาบริเวณวัด ด้านซ้ายติดกับบริเวณรถรางจะเป็นพระเจดีย์เกศแก้วปราสาท

การเดินทาง

  1. จากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบ้านโป่ง เข้าถนนแสงชูโต จะผ่านแยกมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ จากนั้นพอถึงแยกท่าม่วง เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอท่าม่วง
  2. ผ่านหน้าโรงพยาบาลท่าม่วง วนวงเวียนหอนาฬิกา เพื่อเลี้ยวซ้ายไปถนนเลียบคลองชลประทาน
  3. เจอสามแยก เลี้ยวขวาไปอีก 2 กิโลเมตร (มีป้ายบอกทาง) ให้วิ่งไปทางเดียวกับวัดม่วงชุม พอเลยวัดม่วงชุมไปจะเห็นทางเข้าวัดถ้ำเสือ อยู่ทางซ้ายมือ

วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่

วัดถ้ำเสือ อยู่ในตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่   วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวต่างประเทศ ทั้งความโดดเด่นของวัดและชื่อเสียงของ “หลวงพ่อจำเนียร” ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาช้านาน สภาพโดยทั่วไปของ วัดถ้ำเสือมีลักษณะ เป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิงผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำงู ถ้ำเต่า ถ้ำมือเสือ เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

วัดถ้ำเสือ-จังหวัดกระบี่
ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=9vrhzcHBOOg

การเดินทาง

จากตัวเมืองกระบี่ เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกตลาดเก่า ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เส้นทางอำเภอเหนือคลอง เลี้ยวซ้ายที่สามแยกถ้ำเสือไปตามถนนราษฎรพัฒนา (ทางหลวงหมายเลข 4037) ไปประมาณ 2 กิโลเมตร

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.watthumsua-krabi.com

วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี

วัดป่าภูก้อน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย

ในปัจจุบันนี้ วัดป่าภูก้อนดำรงคงอยู่ด้วยความสมดุลของป่าไม้ที่ทวีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นทุกคืนวัน โดยบุคคลผู้มีความศรัทธาและระลึกคุณของสรรพสิ่งทั้งหลายของชาติและแผ่นดินอันเป็นที่กำเนิดแห่งชีวิต โดยมีคุณพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องสำนึก และมีพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยทุกคนควรทดแทน เป็นกำลังใจส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบให้ดำรงปฏิปทาของพระป่ากรรมฐานเพื่อบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนถึงที่สุด

วัดป่าภูก้อน
ภาพจาก http://www.watpaphukon.org/
แผนที่เดินทาง-วัดป่าภูก้อน
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.watpaphukon.org/

วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) จังหวัดหนองคาย

วัดภูทอก ตั้งอยู่ที่บ้านนาคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2483 โดยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติที่มีธรรมสวยงาม เต็มไปด้วยป่าเขา แถมอากาศยังเย็นสบายตลอดทั้งปี ในภาษาอีสานคำว่าภูทอก มีความหมายว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เพราะที่แห่งนี้สร้างอยู่บนภูเขาหินทรายขนาดใหญ่ โดยมีภูเขาสองลูกเรียงกันเรียกว่า “ภูทอกใหญ่” และ “ภูทอกน้อย” ซึ่งมองเห็นกันได้ ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้องห้ามพลาด หากใครมาเที่ยวบึงกาฬเลยล่ะ

วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ หนึ่งในที่ท่องเที่ยวและสถานที่ปฏิบัติธรรมของจังหวัด “บึงกาฬ” จังหวัดน้องใหม่ ถิ่นอีสานริมโขงตอนเหนือ ที่แยกตัวออกมาจากจังหวัดหนองคาย คือ “ภูทอก” หรือ “วัดเจติยาคีรีวิหาร” เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยมี “พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ” เป็นผู้ก่อตั้ง

วัดภูทอก
สะพานไม้ในการขึ้นภูทอกนั้น 7 ชั้นด้วยกัน ซึ่งแต่ละชั้นก็ความแตกต่างกัน

เริ่มจากก่อนขึ้นไปสู่ยอดภูทอก ใครจะแวะมาไหว้พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ก่อนก็ได้ ซึ่งท่านเป็นผู้เจอสถานที่และได้เข้ามาสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่เกิดจากการนิมิตรเห็น จึงเดินทางมาพิสูจน์ และได้พบกับที่นี่ จนได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างวัดเจติยาคีรีวิหาร รวมถึงสะพานไม้สุดน่าทึ่ง ที่เปรียบเสมือนสะพานนรก-สวรรค์

สะพานไม้ในการขึ้นภูทอกนั้น 7 ชั้นด้วยกัน ซึ่งแต่ละชั้นก็ความแตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1 เป็นการเริ่มขึ้นบันไดไม้ โดยจะมีพรรณไม้ต่างๆ หลายสายชนิดให้ชมตลอดทาง
ชั้นที่ 2 เมื่อเดินไปเรื่อยๆ จะเห็นสถานีวิทยุชุมชนของวัดอยู่ด้านขวามือ ซึ่งทัศนียภาพไม่ต่างกับชั้น 1 เท่าไหร่
ชั้นที่ 3 เริ่มมีสะพานเวียนรอบเขา โดยจะมีโขดหิน ลานหิน หน้าผา และไม้ยืนต้นขึ้นกางกิ่งใบให้ร่มเงา
ชั้นที่ 4 จากชั้นนี้มองลงไปข้างล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกันเรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับ “ภูลังกา” ชั้นนี้จะมีที่พักของแม่ชีด้วย
ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งศาลาและกุฏิพระภิกษุสงฆ์ ตามทางเดินมีถ้ำตื้นๆ หลายถ้ำ มีที่นั่งพักได้หลายจุด ถือเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด
ชั้นที่ 6 จะเป็นสะพานไม้แคบๆ ติดกับหน้าผาสูงชัน โดยมีความยาวทั้งหมด 400 เมตร ถึงจะดูน่ากลัวแต่เป็นจุดชมวิวที่ค่อนข้างสวย
ชั้นที่ 7 เป็นทางค่อนข้างชันและเดินลำบาก รวมถึงมีป่าไม้รกทึบ จึงไม่แนะนำให้เดินเท่าไหร่ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษ

สะพานไม้ขึ้นภูทอกไหว้พระ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back To Top